Posted in เรื่องเล่าจากที่ทำงาน

ทางเดินที่ต้องเลือก

ในมุมมองของเจ้านายบอกว่า หากเราต้องการที่จะโตในธุรกิจนี้ เราต้องทำเป็นทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นงานหน้าบ้าน (การตลาด) หรือว่าจะเป็นหลังบ้าน (underwriter)และพิเศษไปกว่านั้น คือ การบริหาร portfolio ของบริษัท(reinsurance) พ่วงท้ายด้วยความรอบรู้ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ(product development) จึงเป็นที่มาของการดูมันหมดซะทุกอย่าง เกี่ยวมันหมดกะทุกคน จะเป็นงาน conventional หรืองานnon-conventional ก็ดูเหมือนเราจะมีเอี่ยวไปด้วยซะทั้งหมด

เราก็ยังคงยืนยันว่ามันไม่เวิร์ก ไม่ใช่ว่าทำไม่ได้ แต่มันทำได้ไม่ดีเท่าที่เราคาดหวัง

หลายครั้งที่นัดลูกค้าไว้ แล้วสรุปไปไม่ได้เพราะมีนัดกับรีอินชัวเรอส์เข้ามา และโจทย์ที่ได้มาคือ ต้องเข้าประชุมกับรีอินชัวเรอส์ทุกครั้ง ขาดไม่ได้ แล้วเดี๋ยวนี้มากันบ่อยมากก ทั้งที่มาเยี่ยมตามปกติไตรมาสละครั้ง กับมาคุยอัพเดตเรื่องเคลมน้ำท่วมเดือนเว้นเดือน มีคนออกจากบริษัทประกันไปเปิดโบรคเกอร์ ทั้งรีอินชัวเรอส์เจ้าใหม่ๆที่อยากเข้ามาของาน เวลาก็หมดไปแล้วไหนจะต้องเกี่ยวกับประชุมเคลม ประชุมอันเดอไรท์ งานที่เกี่ยวกับ คปภ. ที่ขยันจะออกนู่นออกนี่มาตลอด จนไม่รู้จะเอาเวลาที่ไหนไปหาลูกค้า ที่บ่นเนี่ยะไม่ใช่ว่า จะบอกว่าเราเฟลเรื่องการตลาดนะ เป้าก็ยังได้อยู่ แต่มันอึดอัดว่า ถ้าได้ทำมันจริงๆจังๆมันก็คงจะดีกว่านี้ ทั้งๆที่เรารู้สึกสนุกกับงานการตลาดมากกว่างานอันเดอไรท์ก็ตาม แต่สุดท้ายเราก็เลือกที่จะทำงานอันเดอไรท์

เพราะถ้าโจทย์มันบอกว่า ไม่ว่าเราจะเลือกอะไร งานรีอินชัวรันส์กับพัฒนาผลิตภัณฑ์ก็จะต้องตามไปด้วย! แล้วเราก็นั่งยันนอนยันว่าไอ้งานที่ว่าเนี่ยะมันไม่ควรจะมาอยู่กับฝ่ายการตลาดตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว แค่ต้องอธิบายงานที่รับผิดชอบให้รีอินชัวเรอส์ฟังกะอธิบายลูกค้าก็งงจะตายชักอยู่แล้ว เคยมีบริษัทอื่นที่อยากให้เราร่วมงานด้วย บอกให้ช่วยเลือกหน่อยได้มั๊ยว่าอยากทำอะไร เพราะที่ทำหลายๆอย่างแบบนี้มันไม่มี ฮิ้ว

พอถึงคราวที่โอกาสมันมาให้จัดระเบียบได้ เราก็ควรจัดให้งานที่มันควรจะอยู่ด้วยกัน ได้อยู่ด้วยกัน ดีกว่าที่จะให้มันลูกผีลูกคนอยู่แบบนี้

ตอนที่นายบอกให้เลือก อารมณ์แบบที่ “ชอบ” กะที่ “ใช่” มันบังเกิดขึ้นมาเลย และแม้ว่าเราจะไม่ได้ทำงานที่ชอบแต่เราก็จะได้ทำงานที่ใช่ในที่สุด

คอยดูนะ เราจะเปลี่ยนมันให้สนุกและมีเสน่ห์ไม่แพ้ที่เราชอบเลย และถึงตอนนั้น เราก็อาจจะกลับไปรักมันอีกครั้งก็ได้ 😉
 

Posted in เรื่องเล่าจากหนังสือ

มาเรียน English กันเถอะ (9)

วันนี้มาคุยกันเรื่อง Adjectives ที่เอาไว้ใช้ขยายคำนามแต่เป็นในลักษณะการเปรียบเทียบ ซึ่ง adjective เหล่านี้จะแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ

1. The Positive Degree เช่น Jack is a strong boy.

2. The Comparative Degree เช่น Richard is stronger than Jack.

3. The Superlative Degree เช่น Peter is the strongest of the three.

ซึ่ง The Positive Degree จะเป็นการบอกขยายคำนามโดยไม่สามารถนำมาใช้ในการเปรียบเทียบได้นะคะ เราจะไม่ใช้ “John is strong than Henry” นะคะ

ในการเปรียบเทียบของสองสิ่งหรือคนสองคน เราต้องใช้ระดับ The Comparative Degree ค่ะ และเรามักจะใช้ “than” ตามหลังด้วยเสมอ

ส่วนในการเปรียบเทียบมากกว่าสองสิ่งหรือสองคนขึ้นไป เราใช้ The Superlative degree และจะต้องใช้ “the” นำหน้าด้วยเสมอค่ะ

โดยส่วนใหญ่แล้ว ในการแปลงคำจากระดับ Positive เป็น Comparative เราจะเติม er ไว้ด้านหลัง ในขณะที่การแปลงเป็นระดับ Superlative เราจะเติม est ไว้ด้านหลัง ดังนี้ค่ะ

Positive                 Comparative                 Superlative

tall                         taller                              tallest

short                     shorter                           shortest

rich                        richer                             richest

clever                    cleverer                        cleverer

และถ้าคำๆ นั้นลงท้ายด้วย y เราจะเปลี่ยน y เป็น i ก่อนที่จะเติม er หรือ est ค่ะ

happy                    happier                        happiest

easy                       easier                           easiest

pretty                    prettier                       prettiest

heavy                     heavier                        heaviest

แต่สำหรับคำที่ออกเสียงสั้นๆ เราก็จะเติมตัวอักษรตัวท้ายเข้าไปอีก 1 ตัวก่อนที่จะเติม er หรือ est เช่น

big                         bigger                          biggest

hot                         hotter                          hottest

thin                        thinner                        thinnest

fat                          fatter                           fattest

ส่วนกรณีที่คำนั้นมีมากกว่า 2 พยางค์ เราก็จะใช้การเติม more หรือ most เข้าไปแทนค่ะ เช่น

beautiful                more beautiful           most beautiful

difficult                  more difficult             most difficult

ส่วนกรณีที่ในแต่ละระดับใช้คำไม่เหมือนกันเลย เราเรียกว่า Irregular Comparison ค่ะ เช่น

bad                         worse                          worst

good                       better                           best

little                        less                              least

much/many          more                           most

ขอให้สนุกกับการเปรียบเทียบนะคะ 😉

Posted in สัพเพเหระ, เรื่องเล่าจากหนังสือ

The Rules of Work-1.6

กฎข้อถัดมาบอกว่า ไม่ว่าเราจะเหนื่อย จะหนักแค่ไหน ต้องไม่แสดงออกให้ใครรู้ ลองนึกถึง Role Model ของเรา หรือนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จดูสิคะ ไม่มีใครที่ส่งภาพความเหนื่อยความหนักออกมาสักคน ที่เราทำได้และต้องทำ คือ ชิลล์ค่ะ จะงานยาก งานเยอะขนาดไหน เราก็ทำได้แบบชิลล์ๆ และมีสติค่ะ

ทำไมเหรอคะ อย่างแรกเป็นการแสดงออกถึงศักยภาพในการทำงานของเรา นายเราเค้าก็จะสบายใจให้ความไว้วางใจ และอย่าลืมว่าเราเองก็อาจกำลังเป็น Role Model ของใครสักคนก็ได้นะคะ ที่สำคัญคือการสร้างความรู้สึกและสร้างกำลังใจให้กับตนเองค่ะ ถ้าเรายังรู้สึกชิลล์ รู้สึกสนุกกับการทำงาน เราก็จะมีกำลังในการเพิ่มศักยภาพของตัวเราเองเรื่อยๆ

ไม่มีใครไม่ต้องทำงานหนัก เพื่อที่จะประสบความสำเร็จหรอกคะ แม้แต่คนที่เราเห็นว่า ชีวิตช่างดูง่ายๆ สบายๆ ใช้เวลาส่วนใหญ่ออกกำลังกาย เดินทาง เล่นกอล์ฟ สังสรรค์ ทุกคนล้วนต้องเหน็ดเหนื่อยต้องเครียดกับการทำงานทั้งนั้นละคะ แต่ภาพพจน์ที่เค้าแสดงออกมาให้คนอื่นและให้ตัวเองเห็น คือ ความสามารถในการบริหารจัดการ ทั้งเรื่องเวลาและผลงานได้ดีอย่างเหลือเชื่อคะ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเราจะต้องวัดผลงานแข่งกับใครสักคน ลองนึกสภาพของงานที่ออกมาประสิทธิภาพพอๆ กัน แต่คนนึงเยิน อีกคนนึงชิลล์ แล้วคิดว่าคนไหนจะมีดีกรีเหนือกว่ากันละคะ อย่าลืมนะคะ ท่องเอาไว้ว่า ไม่ว่าจะหนัก จะเหนื่อยแค่ไหน เราต้องชิลล์ค่ะ ยิ้มไว้ ยิ้มไว้ สู้ สู้ค่า 😉

 

Posted in เรื่องเล่าจากหนังสือ

มาเรียน English กันเถอะ (8)

วันนี้มาคุยเรื่องการใช้สรรพนามที่เราเอาไว้ตั้งคำถามกัน ที่เรียกว่า Interrogative Pronouns ค่ะ

คำสรรพนามเหล่านี้ ได้แก่ Who, Whose, What และ Which

โดยที่ Who ใช้กับคำถามที่เกี่ยวข้องกับบุคคล เช่น Who drew this picture?

ส่วน Which ใช้ได้กับทั้งบุคคลและสิ่งของค่ะ เช่น Which one of these boys is to be blamed?

Which would you choose, the red or the blue? Which one of the books do you like best?

ส่วน What ใช้ได้กับสิ่งของเท่านั้นนะคะ เช่น What do you want? What is he doing?             What did he say?

แต่สำหรับประโยค เช่น “What are you?” และ “What is he?” จะใช้ในกรณีถามถึงอาชีพของคนๆ นั้นค่ะ แต่ต้องบอกว่าเป็นประโยคที่ไม่ค่อยสุภาพเท่าไหร่นะคะ แม้จะถูกต้องก็ตาม

ถ้าจะถามถึงอาชีพก็ให้ถามว่า

“What work do you do?” หรือ “What do you work as?” หรือ “What work does he do?”

จะดีกว่านะคะ 🙂